ครูสอนดี
-
สสค.เปิด 2 ครูภูมิปัญญา ครูสอนดีผู้สร้างเด็กขาดโอกาสเมืองกระบี่ เปิดศูนย์สร้างเด็กใช้ศิลปะมวยไทย-วัฒนธรรมหนังตะลุง พลิกชีวิตเด็กยากจน
สสค.หนุนครูสอนดีแห่งเมืองกระบี่ ครูหีด เอียดภิรมภ์ ครูศิลปะแม่ไม้มวยไทย และครูเคล้า โรจเมธากุล ศิลปินแห่งชาติ ปี พ.ศ.2555 สาขาศิลปะการแสดงหนังตะลุง เปิดศูนย์เรียนรู้ถ่ายทอดภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมให้แก่เยาวชนขาดโอกาส พร้อมต่อยอดจัดทำเป็นหลักสูตรท้องถิ่นเปิดสอนในโรงเรียน
-
อบจ.ลำพูน จัดพิธีมอบเกียรติบัตรและรางวัลครูสอนดี ประจำปี 2554
องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน จัดพิธีมอบเกียรติบัตรและรางวัลครูสอนดี ประจำปี 2554 ให้แก่ครูสอนดี จังหวัดลำพูน เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติครูที่มีความวิริยะอุตสาหะในการทุ่มเทสั่งสอนลูกศิษย์ ที่เป็นอนาคตของชาติ
-
ลุยไม่รู้โรย : ลุงหลานเปิดตำราลุย
ชายน้อยเดินทางไปพบลุงอรรถที่บ้าน และได้มีโอกาสไปดูการสอนเด็กๆ ในรูปแบบของลุงอรรถด้วยการสอนให้นักเรียนใช้ชีวิตในหมู่บ้านที่เป็นหมู่บ้านจำลองเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้การใช้ชีวิตนอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียน และนำผลผลิตที่ได้ไว้เป็นอาหารและไว้ขายเพื่อสร้างรายได้ นอกจากนั้นลุงอรรถยังสอนให้เด็กเรียนรู้การทำน้ำยาล้างจาน สบู่และยาหม่อง เพื่อให้เด็กมีวิชาความรู้ติดตัวไว้เลี้ยงชีพ จากครูและลูกศิษย์กลับกลายเป็นความสัมพันธ์แบบพ่อลูก ที่มีแต่ตั้งใจจะมอบให้ลูกทุกคน จาก ครูอรรถ (ครูสอนดีจังหวัดนครสวรรค์)
-
แม่ฮ่องสอน-ภูเก็ต คึกคัก มอบรางวัล “ครูสอนดี” ร่วมยกย่องแม่พิมพ์ของชาติ
เมื่อวันที่ 2 ก.ค. จังหวัดแม่ฮ่องสอนมอบเกียรติบัตรและเงินรางวัลแก่ครูสอนดี ประจำปี 2554 โดย นางนฤมล ปาลวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นประธานมอบเกียรติบัตรและเงินรางวัล 1 หมื่นบาทแก่ผู้ได้รับคัดเลือกเป็นครูสอนดีจ.แม่ฮ่องสอน ประจำปี 2554 จำนวน 82 ราย ที่ ศาลาประชาคม จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อเชิดชูเกียรติ ศักดิ์ศรี และยกย่องครูผู้ได้รับเลือกเป็นครูสอนดี และมีครูสอนดี 2 คนที่ได้รับเงินทุน”ครูสอนดี” ทุนละ 250,000 บาท จำนวน 2 ทุน ได้แก่ นางจงจิต ไชยวงค์ จากศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน อ.เมืองแม่ฮ่องสอนและนางจงศิริ วิวัฒน์เชาว์พันธ์ จากโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 33 บ้านทุ่งพร้าว อ.แม่สะเรียง
เปิดโลกอาเซียน
-
สสค.-มูลนิธิร่มฉัตร เดินหน้าสร้างความพร้อม “ศูนย์ศึกษาอาเซียนภาคกลาง”
พระธรรมภาวนาวิกรมยก “สมุทรสาคร” ภาพอนาคต “ชุมชนอาเซียน” เหตุแรงงานต่างด้าวสูงสุดในประเทศ รุก ‘ภาษาพม่า’ เพื่อเตรียมพร้อมเปิด AEC ด้านหอการค้าจังหวัดหนุน หวังลดปัญหา “นายหน้าขายแรงงาน” วงจรแรงงานข้ามชาติผิดกฎหมาย
-
เชียงรายปักธงจังหวัดนำร่อง “ศูนย์ศึกษาอาเซียนภาคเหนือ” ส.ส.เชียงรายชี้ “ภาษา” จุดอ่อนค้าขายชายแดนไทย เหตุเตรียมเปิดด่านเชียงของ หวั่นไทยเสียเปรียบ ด้านสภาหอการค้าเชียงรายเปรียบไทยเหมือน “รถม้าลำปาง” ไม่มองเพื่อนบ้าน ยกภาษา “พม่า-จีน” จำเป็นในการรุกตลาด AEC
เมื่อวันที่ 15 มีนาคม ที่โรงเรียนบ้านแม่จัน จ.เชียงราย สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ร่วมกับมูลนิธิร่มฉัตร และโรงเรียนบ้านแม่จัน จัดการประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมจังหวัดนำร่องสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย หอการค้าจังหวัด ประชาสัมพันธ์จังหวัด สำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาเชียงราย. สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงราย สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงราย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย มหาวิทยัยแม่ฟ้าหลวง สถานีตำรวจภูธรแม่จัน ครูและผู้บริหารร.ร.แม่จัน จ.เชียงราย เข้าร่วมประชุม
-
สสค.ร่วมมูลนิธิร่มฉัตร เดินสายขยายผล “บวรโมเดล” จากระดับชุมชนสู่ภูมิภาค
ชี้ภาคใต้แรงงานต่างชาติสะพัด ร่วม 3 แสนคน ขณะที่ “สงขลา” ติดจังหวัดอันดับ 2 ที่แรงงานต่างชาตินิยมทำงาน ด้านแรงงานไทยสะพัดไปมาเลเซียกว่า 1.5 แสนคน ทำเงินปีละไม่ต่ำ 3 พันล้าน พระธรรมภาวนาวิกรม ยก “ภาษามลายู” คำตอบของเด็กใต้ ขณะที่ประธานหอการค้าสงขลาทุ่มงบ 16 ล้าน ชู 5 นโยบายหลักเตรียมพร้อม AEC ย้ำ “ภาษาค้าขาย” กลายเป็นทักษะจำเป็นเร่งด่วนคนไทย
-
รมว.ศึกษาชี้ชุมชนไตรมิตรต้นแบบชุมชนเตรียมความพร้อมสู่เออีซี
รมว.ศึกษา ชี้ชุมชนวัดไตรมิตร ต้นแบบชุมชนเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ฝึกเยาวชนเรียนรู้ภาษาที่ 3 ขณะที่มูลนิธิร่มฉัตร-สสค. เล็งขยายผลสู่ 4 จังหวัด “สมุทรสาคร-เชียงราย-อุบล-สงขลา” ท่านเจ้าคุณเผย สมุทรสาคร แรงงานต่างด้าวสูงสุดของประเทศ พบ90% เป็นชาวพม่า จึงควรเรียนรู้ภาษา-วัฒนธรรม พร้อมเปิดพื้นที่สงขลา เป็นประตูสู่ภาษามลายูหวังเชื่อมโลกมุสลิม 50% ของอาเซียน
นวัตกรรมการเรียนรู้
-
การปลูกจิตสำนึกรักท้องถิ่น
สังคมโลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของมนุษย์ ทั่วโลกก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน ความเจริญก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำให้โลก ที่กว้างใหญ่เป็นโลกไร้พรมแดนแห่งการเรียนรู้ สังคมโลกที่มีทั้งการแข่งขันและร่วมมือกันมากขึ้น การจัดการศึกษาเป็นกระบวนการพัฒนาชีวิตบุคคลและสังคมให้มีคุณภาพ มีความเจริญงอกงาม
-
เทศบาลตำบลปลายพระยา เปิดปฏิบัติการ “สร้างอาชีพ (หน้า) ใหม่”
สสค.หนุนเทศบาลปลายพระยา จ.กระบี่ ผุดฐานการเรียนรู้เน้นการวิเคราะห์ตลาด-ต้นทุนท้องถิ่น และลงมือปฏิบัติจนสำเร็จ มีตลาดรองรับ ก่อนขยายผลสู่ชุมชน เผยอาชีพใหม่สร้างรายได้ปลายพระยา “เพาะด้วงสาคู ถั่วงอกตัดราก ปลาดุกร้า ข้าวเกรียบจิ้งหรีด พร้อมปรับไหล่ทางหลวง 12 กิโลเมตร เป็นแปลงผักชาวบ้าน ตามรอยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หนึ่งในโครงการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ชุมชนเพื่อสัมมาชีพ ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.)
-
นักวิชาการเปิดปรากฎการณ์เรียนรู้อาเซียนแค่เปลือก หวั่นกระทบแรงงานอีก2ปี
ทีโอเอผนึกกำลังสอศ.-สสค. ชวนคนพันธุ์ R รับคำท้าอาเซียน เปิดปรากฎการณ์เรียนรู้อาเซียนแค่เปลือกผ่านธงสัญลักษณ์ หวั่นอีก 2 ปีกระทบแรงงานระดับกลาง 50% ถูกต่างชาติแย่งงาน เตรียมเดินเครื่องพัฒนาอาชีวะไทย “ยกระดับศักยภาพแรงงาน-เตรียมคนสู่อาเซียนในทางปฏิบัติ-ลบภาพลักษณ์ความรุนแรง” พร้อมเปิดภาพลักษณ์ใหม่ ชวนคนพันธุ์ R สร้างจิตอาสา ใช้ทักษะอาชีพ ทำดีเพื่อสังคม
-
สสค.ร่วมมูลนิธิร่มฉัตร เปิด “ตลาดนัดทางปัญญา” ให้ครูประถมช้อปปิ้งความรู้!
สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ร่วมงานกับมูลนิธิร่มฉัตรในการประชุมจัดการความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับพื้นที่ (ภาคกลาง/ตะวันออก/อีสาน) ภายใต้โครงการติดตามสนับสนุนและประเมินผล โครงการส่งเสริมนวัตกรรมสร้างสรรค์การเรียนรู้ระดับประถมศึกษา ครั้งที่ 1/2554 ที่โรงแรมริเวอร์ไซต์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 26-27 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยมีดร.อุบล เล่นวารี หัวหน้าโครงการติดตามฯ และดร.วาสนา เลิศศิลป์ ทีมติดตาม และคณะร่วมงาน
ปฏิรูปการเรียนรู้
-
เวทีปฏิรูปการเรียนรู้สู่การศึกษาเพื่อคนทั้งมวล ครั้งที่ 36 ประเด็น “ไขกุญแจการปฏิรูปการศึกษาไทย : หัวใจสำคัญคือความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับเด็ก ตอนที่ 2 " เสนอกรณีศึกษา ครูสอนคิด (Socratic Teaching)
เวทีปฏิรูปการเรียนรู้สู่การศึกษาเพื่อคนทั้งมวล ครั้งที่ 36 ประเด็น “ไขกุญแจการปฏิรูปการศึกษาไทย : หัวใจสำคัญคือความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับเด็ก ตอนที่ 2 " เสนอกรณีศึกษา ครูสอนคิด (Socratic Teaching)
-
เวทีปฏิรูปการเรียนรู้สู่การศึกษาเพื่อคนทั้งมวล ครั้งที่ 35 ประเด็น“แผนยุทธศาสตร์ปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน” (2558-2562)
เวทีปฏิรูปการเรียนรู้สู่การศึกษาเพื่อคนทั้งมวล ครั้งที่ 35 ประเด็น“แผนยุทธศาสตร์ปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน” (2558-2562)
-
เวทีปฏิรูปการเรียนรู้สู่การศึกษาเพื่อคนทั้งมวล ครั้งที่ 34 ประเด็น “ไขกุญแจการปฏิรูปการศึกษาไทย : หัวใจสำคัญคือความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับเด็ก”
เวทีปฏิรูปการเรียนรู้สู่การศึกษาเพื่อคนทั้งมวล ประเด็น “ไขกุญแจการปฏิรูปการศึกษาไทย : หัวใจสำคัญคือความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับเด็ก”
เด็กด้อยโอกาส
-
ยะลา “ประกบตัว” เด็กด้อยโอกาส
ยะลาใช้วิธี “ประกบตัว” แก้ปัญหาเด็กด้อยโอกาส โดยเฉพาะเด็กกำพร้าเสียพ่อแม่จากเหตุการณ์ความรุนแรง เผยข้อมูลพบตัวเลขเด็กที่ต้องดูแลกว่า 1.6 แสนคน ระดมเจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงานร่วมแก้ไข สสค.ระบุยะลาคือต้นแบบ ถ้ายะลาทำได้ จังหวัดอื่นๆ ก็ทำได้เช่นกัน
-
แก้ปัญหาเด็ก “Drop out” ให้เหลือ “0”
จะเกิดอะไรขึ้นกับสังคมไทย เมื่อปัจจุบันมีเด็กไทยหลุดหายออกจากระบบการศึกษา ราว 3 ล้านคน หรือประมาณ 1 ใน 5 ของประชากรเด็กเยาวชนไทยทั้งระบบ ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีเด็กกลุ่มเสี่ยงที่อยู่ในระบบการศึกษาอีกถึง 2 ล้านคน ส่งผลให้ปัจจุบันในแต่ละจังหวัดมีเด็กด้อยโอกาสและเด็กกลุ่มเสี่ยงเฉลี่ยจังหวัดละ 60,000-70,000 คน คิดเป็นสูญเสียทางเศรษฐกิจตลอดช่วงชีวิตการทำงานของประชากรกลุ่มนี้ กว่า 12,000 ล้านบาท/ปี ซึ่งสูงกว่ามูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นกับแต่ละจังหวัดในเหตุการณ์สึนามิปี 2547 ถึง 10 เท่า
-
ท้องถิ่นกับการจัดการศึกษา “เทศบาลนครภูเก็ต-ยะลา” เส้นทางสู่เมืองน่าอยู่ที่สุดในโลก
ท้องถิ่นกับการจัดการศึกษา “เทศบาลนครภูเก็ต-ยะลา” เส้นทางสู่เมืองน่าอยู่ที่สุดในโลก